|
|
|
ความหมายของชื่อตำบลวังพิกุล เป็นสถานที่ที่มี
ต้นพิกุลขึ้นอยู่จำนวนมาก ที่มาของชื่อตำบลมาจากชื่อ
สถานที่ของบรรพบุรุษที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ริมแม่น้ำ
(แม่น้ำแคววังทอง) นิยมเรียกชื่อสถานที่ที่มีความหมาย
เกี่ยวข้องกับระดับความลึกของแม่น้ำ (ว้า) และสิ่งที่ปรากฏในบริเวณนั้น ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่อ้างอิงได้ ดังนั้นชื่อตำบล
วังพิกุล จึงสันนิษฐานว่าเป็นสถานที่ตั้งที่มีต้นพิกุลปรากฏ
อยู่บริเวณที่มีระดับน้ำลึกที่สุดในพื้นที่และผู้ที่ตั้งชื่อของ
ตำบลวังพิกุล ซึ่งเป็นกำนันคนแรก คือ
นายฟุ้ง ทองโพธิ์เล็น |
|
|
|
|
|
องค์การบริหารส่วนตำบลวังพิกุล ตั้งอยู่หมู่ที่ 9
บ้านดงไผ่ ตำบลวังพิกุล อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก อยู่ทางห่างจากที่ว่าการอำเภอวังทองไปทางทิศใต้ 14.5 กิโลเมตร ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลวังพิกุล มีจำนวน 15 หมู่บ้าน เนื้อที่ 70.46 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 44,037 ไร่ แบ่งเป็น พื้นที่ทำกิน 49.32 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 30,825 ไร่ พื้นที่อยู่อาศัยและที่สาธารณะประโยชน์ 21.14 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 13,212 ไร่ |
|
|
|
|
|
|
ความหมายของสัญลักษณ์ |

 |
ต้นพิกุล หมายถึง ที่มาของชื่อตำบล
เนื่องจากมีต้นพิกุลขึ้นอยู่จำนวนมาก |

 |
แม่น้ำ หมายถึง ตำบลวังพิกุลมีแม่น้ำแคววังทอง ไหลผ่าน |
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
 |
|
|
   |
|
|
|
|
 |
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ตำบลสมอแข อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก |
 |
|
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
ตำบลแม่ระกา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก |
|
 |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
ตำบลดินทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก |
 |
|
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ตำบลอรัญญิก และ ตำบลบึงพระ อำเภอเมือง
จังหวัดพิษณุโลก |
|
|
|
    |
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
 |
|
|
   |
|
|
|
|
ภูมิประเทศขององค์การบริหารส่วนตำบล มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะกับการทำการเกษตร มีแม่น้ำแคววังทองไหลผ่าน หมู่ที่ 1, 2, 4, 5, 8, 12 และหมู่ที่ 14 เป็นระยะทางยาวประมาณ 15 กิโลเมตร |
|
|
|
|
|
|

 |
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึง
กลางเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนและแห้งแล้ง
แต่บางครั้งอาจมีอากาศเย็น บ้างครั้งเกิดพายุฝนฟ้า
คะนองและลมกระโชกแรงก่อให้เกิดความเสียหายแก่
ประชาชนทุกปี เรียกว่า "พายุฤดูร้อน" อากาศร้อน
จะมีอุณหภูมิระหว่าง 35 - 39.9 องศาเซลเซียส
ร้อนจัด มีอุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป |
|
|

 |
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ กลางเดือนพฤษภาคม ฝนตกมากในช่วงเดือน พฤษภาคม – ตุลาคม แต่อาจเกิด “ช่วงฝนทิ้ง” ซึ่งอาจนานประมาณ 1 - 2 สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคม แต่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเกิดอุทกภัยทุกปี |
|

 |
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนานราว 1 - 2 สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมี
ฝนฟ้าคะนอง อากาศหนาวอุณหภูมิต่ำสุด ประมาณ 15 องศา |
|
|
|
|
|
เกษตรกร |

 |
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น
ทำนา ทำไร่ ทำสวน เนื่องจากพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม
เหมาะแก่การทำการเกษตร เพราะพื้นที่มีความอุดม
สมบูรณ์ และสามารถทำได้ 2-3 ครั้งต่อปี |
การปศุสัตว์ |

 |
เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็น
อาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงไก่ เป็ด โค สุกร กระบือ |
|
|
|
|
|
   |
|
|
|
|
|
|
จำนวนประชากรทั้งหมด 8,824 คน แยกเป็น |

 |
ชาย จำนวน 4,384 คน |
คิดเป็นร้อยละ 49.68 |

 |
หญิง จำนวน 4,440 คน |
คิดเป็นร้อยละ 50.32 |
จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 3,158 ครัวเรือน |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 125.23 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
|
 |
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนประชากร |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
จำนวน
ครัวเรือน |
 |
|
1 |
|
บ้านวังประดู่ |
219 |
257 |
476 |
193 |
|
 |
2 |
|
บ้านวังพิกุล |
393 |
393 |
786 |
273 |
 |
|
3 |
|
บ้านดงข่อย |
566 |
535 |
1,101 |
522 |
|
 |
4 |
|
บ้านคลองเป็ด |
433 |
456 |
889 |
271 |
 |
|
5 |
|
บ้านทางลัด |
180 |
193 |
373 |
109 |
|
 |
6 |
|
บ้านคลองเมือง |
394 |
398 |
792 |
375 |
 |
|
7 |
|
บ้านดงพลวง |
386 |
391 |
777 |
269 |
|
 |
8 |
|
บ้านวังสำโรง |
221 |
218 |
439 |
142 |
 |
|
9 |
|
บ้านดงไผ่ |
163 |
145 |
308 |
106 |
|
 |
10 |
|
บ้านดงจันทร์ |
189 |
194 |
383 |
126 |
 |
|
11 |
|
บ้านหนองตาสี |
222 |
239 |
461 |
144 |
|
 |
12 |
|
บ้านตะกูสามนาง |
234 |
234 |
468 |
159 |
 |
|
13 |
|
บ้านดงพลวง |
323 |
314 |
637 |
187 |
|
 |
14 |
|
บ้านวังฉำฉา |
139 |
144 |
283 |
81 |
 |
|
15 |
|
บ้านหลังศาล |
322 |
329 |
651 |
201 |
|
 |
|
|
รวม |
4,384 |
4,440 |
8,824 |
3,158 |
 |
|
|
|
|
 |
|
|
|
|
|
 |
|
|
|